แครอท (Carrot) เป็นพืชผักที่รับประทานหัว เป็นผักที่นิยมนำมารับประทานมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ อุดมด้วยสารอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะสา...
วิธีการปลูกแครอท และสรรพคุณ
แครอท สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ รับประทานสดในสลัด ต้มจืด ต้มซุบ ส้มตำ ผัดกับเนื้อสัตว์ ใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนมเค้ก ขนมหวาน หรือเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น แครอทอบแห้ง แครอทบรรจุกระป๋อง แครอทแช่แข็ง แครอทกวน แครอทดอง และการใช้ประโยชน์รูปแบบอื่นๆ เช่น เป็นส่วนผสมในตำรับยาจีนในการรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคตาบอดกลางคืน ไอเรื้อรัง ท้องผูก รวมถึงเป็นอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโดยการคั้นนํ้ารับประทาน
แครอท มีชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus carota var sativar ชื่อไทย คือ หัวผักกาดแดง อยู่ในตระกูลพาสเล่ย์ (Parsley) หรือ อัมเบลลิเฟอรี (Umbeliferae) เช่นเดียวกับ ผักชี ผักชีฝรั่ง และคื่นฉ่าย เป็นต้น แครอทมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเซียกลางถึงเอเซียตะวันตก ต่อมาถูกนำเข้ามาปลูกเข้าไปในยุโรป และประเทศจีน โดยแครอทในระยะแรกมีหัวสีแดงถูกนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพร และเริ่มนำมาประกอบอาหารในศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันนิยมปลูกหัวสีเหลืองออกส้มหรือสีส้ม ขึ้นอยู่กับความนิยมของตลาด เนื้อแครอทจะค่อนข้างแข็ง มีรสหวาน และมีหลายสี ตั้งแต่สีส้ม สีแดง ไปจนถึงสีเหลือง เนื่องจากมีรงควัตถุพวกแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่เป็นสารใช้สำหรับการสังเคราะห์วิตามินเอในปริมาณมาก ส่วนแครอทป่าในอาฟกานิสถานอาจมีสีหัวสีม่วง สีขาว หรือเหลือง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
ลำต้นแครอทมีลักษณะคล้ายต้นผักชี ลำต้นสั้น อยู่ติดกับขั้วหัว ส่วนรากหรือหัวแครอทที่เป็นส่วนนำมารับประทาน จัดเป็นรากแก้วที่มีลักษณะพองโตขนาดใหญ่ มีรูปร่าง และสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-5 เซนติเมตร ส่วนหัวด้านบนใหญ่ และค่อยเรียวยาวถึงท้ายหัว เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เก็บอาหารสำรอง ประกอบด้วยอินเนอร์คอร์ (Inner core) ซึ่งเป็นส่วนแกนของไซเล็ม (Xylem) ถัดออกมาเป็นคอร์เท็กซ์ (Cortex) ซึ่งเป็นส่วนชั้นนอกของโฟเอ็ม (Phloem) และชั้นนอกสุด คือ เพอริเดิร์ม (Periderm) หรือเปลือก โดยมีรากฝอยขนาดเล็กจำนวนมากเจริญจากแคมเบียม (Cambium) ผ่านคอร์เท็กซ์ และเพอริเดิร์มออกมา ทำหน้าที่ดูดนํ้า และสารอาหารสำหรับเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น แครอทที่มีคุณภาพดีจะมีส่วนโฟเอ็มมากกว่าส่วนของเพอริเดิร์ม และคอร์ เนื่องจากความหวานของแครอทเกิดจากคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในส่วนโฟเอ็มนั่นเอง
2. ใบ
ใบแครอทแตกออกรอบๆ ลำต้นบริเวณส่วนบนสุดของหัว 5-10 ใบ ประกอบกอบด้วยก้านใบยาว สีเขียวอ่อน ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบมีลักษณะคล้ายผักชีลาว แตกใบย่อยออกเป็นคู่ ประมาณ 3-5 คู่ ตรงข้ามกัน และปลายใบมีใบย่อยใบเดียว
ลักษณะแครอท
1. ส่วนของเนื้อ (Outer Core) ประกอบด้วย
– เปลือกบางชั้นนอกสุด (Periderm)
– เนื้อ (Cortex) เป็นส่วนที่ใหญ่สุด ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร และเป็นแหล่งเก็บสารอาหาร และนํ้าตาล เนื้อมีลักษณะสีขาว ส้ม แดง เหลือง ม่วงหรือดำขึ้นกับสายพันธ์
2. ส่วนแกน (Inner core) ทำหน้าที่เป็นสร้างหลัก และทำให้หัวแครอทมีความแข็งแรง ประกอบด้วยท่อนํ้า (Xylem) และแกน (Pith)
สายพันธุ์แครอท
1. พันธุ์เบบี้แครอท (Baby carrot) หรือ ฟิงเกอร์ (Finger) เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดหัวเล็กที่สุด ยาว 8 – 10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร เนื้อมีสีส้ม นิยมบริโภคสด และแปรรูป ได้แก่ พันธุ์มาสเตอร์ (Master) พันธุ์เกรซ (Grace) และมินิเอกซ์เพรส (Mini Express) เป็นต้น ส่วนพวกที่มีหัวกลม เช่น พันธุ์ปารีส มาร์เกต (Paris Market) และพันธุ์รอนโด (Rondo) นิยมนำมาแปรรูปในอุตสาหกรรม
2. พันธุ์แนนเทส (Nantes) มีหัวขนาดปานกลาง ยาวประมาณ 16 – 18 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก ปลายมีลักษณะทู่ เนื้อมีสีส้ม มีรสนุ่ม และกรอบ ถือว่ามีคุณภาพสูงที่สุด นิยมปลูกมากในแถบยุโรป เหมาะสำหรับบรรจุกระป๋อง และนิยมบริโภคในรูปผักสด
3. พันธุ์แชนทีเน่ (Chantenay) เป็นพันธุ์ที่มีหัวขนาดปานกลาง หัวมีรูปทรงรูปกรวย ยาวประมาณ 24 – 26 เซนติเมตร เนื้อทั้งหัวมีสีส้ม ให้มีรสกรอบ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในสหรัฐอเมริกา สำหรับแปรรูปเป็นแครอทกระป๋อง แครอทอบแห้ง และยังนิยมใช้รับประทานเป็นผักสด
4. พันธุ์แดนเวอร์ (Danvers) มีลักษณะหัวค่อนข้างสั้น ปลายเรียวเล็กน้อยจนทู่ ยาวประมาณ 20 – 22 เซนติเมตร เนื้อสีส้มเข้ม แกนใหญ่ ผิวเปลือกเรียบ ขณะอ่อนจะมีคุณภาพดี ถ้าแก่จะมีเส้นใยมาก ในสหรัฐอเมริกานิยมปลูกเพื่อการแปรรูปอุตสาหกรรม เช่น การบรรจุกระป๋อง อบแห้ง และอาหารเหลวสำหรับเด็ก
5. พันธุ์อิมเพอเรเตอร์ (Imperater) หัวมีลักษณะยาว 28 – 30 เซนติเมตร ค่อนข้างปลายเรียว ผิวเปลือกเรียบ มีสีส้มสด นิยมปลูกเพื่อบริโภคสด และมีลักษณะเด่นที่ใบมักติดกับหัว ทำให้มีความคงทนต่อการขนส่ง
พันธุ์ของแครอทไทยที่นิยม (โครงการหลวง, 2533)
1. พันธุ์หงส์แดง (New Kuruda) จัดอยู่ในสายพันธุ์แชนทาเน่ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมาก มีลักษณะหัวอ้วน รูปกรวย ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวได้มากกว่า 15 เซนติเมตร ขึ้นไป นํ้าหนักเฉลี่ย 250 กรัม ชอบดินร่วนปนทราย ปลูกได้ตลอดปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 80-100 วัน
2. พันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส (Mini Express) จัดอยู่ในสายพันธุ์เบบี้แครอท หัวมีขนาดเล็ก เรียวยาว ขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ปลูกได้ตลอดปี ชอบดินร่วนปนทราย ปลูกได้ตลอดปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน
3. พันธุ์ทัมบีลีนา (Thumbelina) หัวมีลักษณะกลมหรือป้อมสั้น แตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร สีส้มสด มีรสชาติดี ใช้แปรรูปหรือการบริโภคสด
4. พันธุ์ทัวริโน เอฟวัน (Tourino F1) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น หัวค่อนข้างอ้วน และเตี้ย เนื้อหัวมีสีส้มสด ให้ผลผลิตสูง
เกรดแครอท (โครงการหลวง, 2533)(1)
เกรดที่ 1
– ขนาดตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป ยาวตั้งแต่15 เซนติเมตร ขึ้นไป
– รูปทรงได้สัดส่วน ไม่แตกแขนง ไม่มีรอยแผล
– มีลักษณะสด สีส้มสด
เกรดที่ 2
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณส่วนหัว 3-4.5 เซนติเมตร ยาวตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป
– รูปทรงได้สัดส่วน ไม่แตกแขนง ไม่มีรอยแผล
– มีลักษณะสด สีส้ม
เกรดที่ 3
– ความยาว 10-15 เซนติเมตร
– หัวใหญ่ แต่รูปร่างไม่ได้สัดส่วน ปลายทีมีส่วนหัก ไม่เกิน 5% ของความยาวหัว
เกรดที่ 4
– หัวแตกแขนงมีการฉีกขาด รูปร่างผิดแปลกมากไป รากเป็นปม
– เปลือกบริเวณไหล่มีสีคลํ้าเกิน 3% ของความยาวหัว
– มีแผลจากโรคหรือแมลง
ประโยชน์แครอท
การใช้ประโยชน์แครอทในประเทศไทย มีดังนี้คือ (โครงการหลวง, 2533)(1)
1. การบริโภคสด สำหรับประกอบอาหารคาวหวานต่างๆ เช่น หั่นบางๆ ผสมรวมกับผักอื่นในสลัด ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกแบบสดหรือต้ม ใช้ปรุงประกอบอาหารผัด แกง ต้มต่างๆ รวมถึงเป็นส่วนประกอบในการทำขนมเค้ก และข้าวเกรียบ เป็นต้น
2. การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในอุตสาหกรรม เช่น แครอทอบแห้ง แครอทบรรจุกระป๋อง แครอทแช่แข็ง และน้ำผลไม้แครอท เป็นต้น
3. การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในครัวเรือน เช่น แครอทกวน แครอทดอง และน้ำแครอท เป็นต้น
4. การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ เช่น สบู่แครอท เป็นต้น
5. ใช้ประโยชน์รูปแบบอื่นๆ เช่น เป็นส่วนผสมในตำรับยาสำหรับแก้โรคต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคตา ไอเรื้อรัง ท้องผูก เป็นต้น รวมถึงเป็นอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโดยการคั้นนํ้าสดๆ รับประทาน
คุณค่าทางโภชนาการ (แครอทกินได้ 100 กรัม)
– พลังงาน 37.00 กิโลแคลอรี
– ความชื้น 89.70 เปอร์เซ็นต์
– โปรตีน 1.60 กรัม
– ไขมัน 0.40 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 6.80 กรัม
– ใยอาหาร 1.00 กรัม
– เถ้า 0.40 กรัม
– แคลเซียม 1.00 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 68.00 มิลลิกรัม
– เหล็ก 1.20 มิลลิกรัม
– เบต้าแคโรทีน 6994.00 ไมโครกรัม
– วิตามินเอรวม (Total RE) 1166.00 ไมโครกรัม
– วิตามินบี 1 (ไทอะมีน) 0.04 มิลลิกรัม
– วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) 0.05 มิลลิกรัม
– วิตามินซี 41.00 มิลลิกรัม
– ไนอะซิน 0.80 มิลลิกรัม
ที่มา : กองโภชนาการ (2535)(2)
ปริมาณแคโรทีนในแครอท
– อัลฟาแคโรทีน (∝-carotene) 22.4 ไมโครกรัม/กรัม
– เบต้าแคโรทีน (β-carotene) 85.0 ไมโครกรัม/กรัม
– เดลต้าแคโรทีน (δ-carotene) 7.0 ไมโครกรัม/กรัม
– แกมมาแคโรทีน (γ-carotene) 2.9 ไมโครกรัม/กรัม
– ซีสแคโรทีน (cis-carotene) 0.9 ไมโครกรัม/กรัม
– นิวโรสปอรีน (neurosporene) 2.1 ไมโครกรัม/กรัม
– ไลโคพีน (lycopene) 0.6 ไมโครกรัม/กรัม
– ลูทีน (lutein) 3.6 ไมโครกรัม/กรัม
– แคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถระบุชนิดได้ (Unidentified carotenoids) 0.3 ไมโครกรัม/กรัม
ที่มา : Baloch and Edwards (1977)(3)
การประทานแครอทให้ได้คุณค่านั้น ควรนำไปปรุงให้สุกเสียก่อน เพราะความร้อนจะช่วยเนื้อแครอทเปื่อย ทำให้ร่างกายสามารถย่อย และดูดซึมเบต้าแคโรทีนมาใช้ได้ง่ายขึ้น
สรรพคุณแครอท
1. บำรุงสายตา ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ป้องกันเยื่อบุตาอักเสบ และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก
2. ช่วยป้องกันแสงรังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้ผิวแลดูไม่คล้ำ ไม่เกิดฝ้า กระ และริ้วรอย
3. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณสดใส ไม่หมองคล้ำ และแลดูอ่อนกว่าวัย
4. ช่วยรักษาเยื่อบุในร่างกาย เช่น เยื่อช่องปาก และเยื่อบุในระบบทางเดินอาหาร
5. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
6. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ และลดอาการภูมิแพ้
7. ช่วยป้องกัน และรักษาโรคมะเร็ง
8. ช่วยป้องกันโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด
น้ำแครอท
แครอทในรูปเครื่องดื่มหรือน้ำแครอทที่อยู่ในรูปน้ำแครอท หรือน้ำแครอทผสมกับน้ำผัก ผลไม้ชนิดอื่นๆ โดยทั่วไปมี 2 วิธีการ คือ
1. น้ำแครอทแบบไม่ผ่านการลวก เป็นการทำน้ำแครอท ด้วยการนำแครอทสดมาปั่นให้ละเอียด แล้วกรองแยกกาก แยกเอาเฉพาะส่วนน้ำแครอท สามารถทำได้ในระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรม มีขั้นตอน ดังนี้
– คัดเลือกหัวแครอทที่มีคุณภาพ สด ไม่มีรอยคล้ำ ไม่มีรอยแตกหัก
– นำแครอทมาปอกเปลือก และล้างน้ำให้สะอาด
– นำแครอทมาหั่นเป็นชิ้น ตามขวาง ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร
– นำแครอทที่หั่นแล้วใส่ในเครื่องปั่น อาจเป็นเครื่องปั่นธรรมดาหรือเครื่องปั่นชนิดแยกกากแยกน้ำ
– กรองน้ำแยกกากแครอทด้วยผ้าขาวบาง จนได้น้ำแครอทสด
– บรรจุขวดพร้อมรับประทานหรือปรุงรสด้วยน้ำตาล และเกลือเล็กน้อยก่อนบรรจุหรือรับประทาน
2. น้ำแครอทแบบผ่านการลวก เป็นน้ำแครอทที่ได้มาด้วยการลวกแครอทก่อน แล้วจึงนำเจฃข้าเครื่องปั่นแยกาก และน้ำแครอท วิธีการนี้จะทำให้น้ำแครอทมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าวิธีการแรก
การปลูกแครอท
แครอทเป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวอุณหภูมิตํ่าสุด และสูงสุดที่แครอทเจริญได้ดี คือ 7.2-23.88 องศาเซลเซียส จึงมักปลูกแครอทในฤดูหนาว ปลายเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 80-100 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สามารถปลูกได้ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่แครอทสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่จะให้ผลผลิตสูงในฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ขณะฤดูฝนมักประสบปัญหาในด้านโรค และแมลง ทำให้ผลผลิตตํ่า
ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกแครอท คือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายนํ้าดี หน้าดินลึก ทำให้แครอทมีคุณภาพดี คือ หัวตรง ไม่แตกหัวแขนง หัวไม่คดงอ
การปลูกแครอทจะปลูกด้วยการหว่านหรือหยอดเมล็ด แต่การหยอดเมล็ดจะช่วยควบคุมระยะห่างระหว่างต้นได้ดีกว่า การเจริญเติบโตจึงดีกว่าทำให้ผลผลิตสูงกว่าการหว่านเมล็ด ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกในแปลงขนาดเล็กหรือการปลูกในกระถาง แต่ทั้งนี้ วิธีการปลูกที่นิยมของเกษตรส่วนมากจะใช้วิธีการหว่าน เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว และประหยัดต้นทุนมากกว่า ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกในแปลงที่มีพื้นที่มาก
เอกสารอ้างอิง
1.โครงการหลวง.2533. คู่มือส่งเสริมการปลูกพืชผักบนที่สูงในประเทศไทย
2.กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . 2530 . ตารางคุณค่าทางอาหารในส่วนที่กินได้ 100 กรัม
ที่มา : puechkaset.com
# วิธีปลูกกระเจี๊ยบเขียว #ระยะปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและ แบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซ...
วิธีปลูกกระเจี๊ยบเขียว
#ระยะปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและ แบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุมอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ = 1 กิโลกรัมเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว 100 เมล็ดหนัก 6-7 กรัมเมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม = 16,666-14,285 เมล็ด
#การเตรียมแปลงปลูกและการปลูก กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีใน สภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตนานถึง 6 เดือน ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมก่อนปลูกควรคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น โรคฝักจุดหรือฝักลายโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

การเตรียมแปลงใช้แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ 1-2 ครั้ง แล้วยกร่องไถดิน ตากดิน 3-5 วัน
ไถครั้งที่ 2 พรวนดิน แล้วยกร่องด้วยแทรกเตอร์ ยกร่องกว้าง 75 เซนติเมตร (ให้น้ำแบบร่อง) ใช้จอบปรับร่องให้เสมอเพื่อน้ำจะได้เข้าแปลงได้ดี ใช้จอบตีหลุมซึ่งหลุมปลูกจะอยู่ต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ 1 คืบ ปลูกแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ เตรียมหลุมปลูก 8,480 หลุม
#การให้น้ำ
กระเจี๊ยบเขียวชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ
#การให้ปุ๋ย
เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
#อายุการเก็บเกี่ยว
กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่โตเร็ว เมื่ออายุได้ 40 วัน จะเริ่มออกดอก หลังดอกบาน 5 วัน ฝักจะยาว 4-9 เซนติเมตร ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตฝักสดได้ มีขนาดและคุณภาพฝักดี คือ ฝักกระเจี๊ยบมีความอ่อนนุ่มมีรสชาด และเนื้อสัมผัสที่ผู้บริโภคพอใจ อ่อน ไม่มีเส้นใยตรงตามที่ตลาดต้องการ ฝักกระเจี๊ยบเขียวโตเร็วมากโดยเฉพาะอากาศร้อนจะเติบโตวันละ 2-3 เซนติเมตร เกษตรกรจึงต้องเก็บเกี่ยวทุกวัน และไม่ควรปล่อยทิ้งฝักที่สามารถตัดได้ให้หลงเหลืออยู่บนต้น เพราะต้นจะต้องส่งอาหารมาเลี้ยง ทำให้ผลผลิตต่ำ เกษตรกรจะสามารถเก็บฝักที่มีคุณภาพดีได้ประมาณ 1 ฝ -2 เดือน ฝักที่แตกยอดจะเริ่มหมดและไม่แข็งแรง สังเกตจะมีกิ่งแขนงออกจากต้น 2-3 กิ่ง ควรตัดต้นทิ้ง เพื่อให้แตกแขนงใหม่ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้อีกประมาณ 2 เดือน ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยตลอดฤดูปลูก 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก (ก.ย.-พ.ค.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและความยาวนานในการเก็บผลผลิต
วิธีการปลูกพริก พันธุ์ของพริกที่นิยมปลูก ได้แก่ พริกบางช้าง, พริกสันป่าตอง, พริกชี้ฟ้า, พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ ตลาดขายพริกสดยังมีลู่ทางในตลา...
วิธีการปลูกพริก
พันธุ์ของพริกที่นิยมปลูก ได้แก่ พริกบางช้าง, พริกสันป่าตอง, พริกชี้ฟ้า, พริกขี้หนูเม็ดใหญ่
ตลาดขายพริกสดยังมีลู่ทางในตลาดที่สดใส ได้ราคาดี อีกทั้งยังสามารถขายได้ตลอดปี ราคาพริกจะอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ 20-50 บาท ในบางช่วงพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 90 บาท และยังมีแม่ค้ามารับซื้อถึงที่ ซึ่งในแต่ละวันเกษตรกร จะสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 40-50 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ประมาณ 2,500 บาทต่อวัน นับว่าเป็นอาชีพที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และแก้ไขปัญหาการว่างงานได้เป็นอย่างดี
#การเพาะกล้าต้นกล้าพริก
1. ใช้แปลงเพาะกว้าง 1 เมตร ยาว 5-10 เมตร
2. ขุดพลิกดินตากดินไว้ 2-3 สัปดาห์ ใช้ปุ่ยชีวภาพหรือสารย่อยดิน และแกลบเผาอย่างละ 10-20 กิโลกรัมต่อแปลง คลุกเคล้าให้เข้ากันจนร่วนซุย
3. เกลี่ยดินให้เรียบแล้วเพาะเมล็ดในอัตรา 50 กรัม ต่อพื้นที่ปลูกพริก 1 ไร่ โดยโรยเมล็ดเป็นแถวตามความกว้างของแปลงลึก 0.5 เซนติเมตร แต่ละแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร
4. กลบดินบาง ๆ เสมอพื้นดินผิวดินเดิมแล้วใช้ฟางข้าวคลุมแปลงบาง ๆ รดน้ำ หรือทำวัสดุให้ร่มเงา เช่น สะแลน บังแสงแดดในระยะแรก จะทำให้เปอร์เซนต์การงอกดีขึ้น
5. เมื่อกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้ว ค่อย ๆ ดึงฟางออกให้บางลง เพื่อกล้าจะเจริญเติบโตดี
6. การโรยเมล็ดถ้าเป็นการปลูกโดยการย้ายกล้าจากแปลงเพาะไปปลูกในแปลงโดยตรงโดยไม่ย้ายกล้าลงถุง พลาสติก ควรโรยเมล็ดให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้น แต่ละเมล็ดควรห่างกัน 0.05 เซนติเมตร
#การปลูกพริก อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม
1. หยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม
2. เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก
3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลงเพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้ามีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 200 ซีซี. แล้วรดน้ำตามทันที
การเพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะ เพื่อป้องกันโรคเน่า เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน
ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม. ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูกก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง
การเตรียมดิน ทำการย้ายปลูก เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว เตรียมดินแปลงปลูก โดยไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึง
เตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูก สามารถทำได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพของพื้นที่ปลูกดังนี้คือ
1. ปลูกแบบไม่ยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ ๆ มีการระบายน้ำดี ปรับระดับได้สม่ำเสมอ การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.
2. ปลูกแบบยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ระบายน้ำดอกได้ยาก
-ขนาดแปลงกว้าง 1.50 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. ปลูก 2 แถว บนแปลง
-ระยะห่างแถว 0.75-1.00 เมตร ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.
โหระพาเป็นพืชล้มลุกอายุสั้น ลำต้นเป็นทรงพุ่มสูงประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร ใบเขียว ก้านใบและลำตัวมีสีม่วง ใบมีกลิ่นหอม ใบโหระพาเป็นผักที่ใช...
วิธีปลูกโหระพา
ก้านใบและลำตัวมีสีม่วง ใบมีกลิ่นหอม ใบโหระพาเป็นผักที่ใช้ใบบริโภค
ใช้ปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาด และกลิ่นหอมน่ารับประทาน
1.ทำแปลงเพาะขนาดความกว้าง 1 เมตร
ความยาวแล้วแต่แปลง
2.ย่อยดินให้ละเอียด คลุกเคล้าปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
3.หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง
4.หลังเพาะประมาณ 7 - 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก
5..ดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 25 - 30 วัน
ก็ย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงได้
การเตรียมดินปลูกและการย้ายกล้าปลูก
6.ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 15 - 20 ซม. หรือ 1 หน้าจอบ
7.ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงแปลงกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดแปลง
8.ขุดหลุมปลูกขนาดลึก 1/2 หน้าจอบ
9.ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม. ระหว่างแถว 60 ซม.
10.นำต้นกล้าลงปลูกในหลุมแล้วรดน้ำตาม
การดูแลรักษา
11.การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นโหระพาอายุ 10 - 15 วัน
12.ใช้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนี่ยมซัลเฟต 1 - 2 ช้อนชา
ต่อน้ำ 10 ลิตร รดทุก 5 - 7 วัน
13.เมื่อต้นโหระพาอายุ 25 - 30 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15
อัตรา 1ช้อนชา ต่อต้น ให้ทุก 20 - 25 วัน
โดยโรยห่างโคนต้น 3 - 5 ซม.
หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงได้
14.การให้น้ำ ให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทุกวัน
15.การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งที่มีการให้ปุ๋ย
และเมื่อมีวัชพืชรบกวน
การเก็บเกี่ยว
16.หลังปลูกประมาณ 30 - 35 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
โดยใช้มือเด็ดหรือกรรไกร ตัดกิ่งที่มียอดอ่อนไปบริโภค
17.ถ้าต้นโหระพาออกดอกควรหมั่นตัดแต่งออกทิ้ง
เพื่อให้โหระพามีทรงพุ่มที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว
กุหลาบ ควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน เนื่องจากกุหลาบจะมีช่วงการเจริญ...
การปลูกและดูแลรักษาดอกกุหลาบ
กุหลาบควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน
เนื่องจากกุหลาบจะมีช่วงการเจริญเติบโตติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 6 เดือน ซึ่งจะทำให้ได้ต้นกุหลาบที่เติบโตเต็มที่ ดอกมีคุณภาพ
กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชม.
ดังนั้นควรปลูกในที่โล่งแจ้งและอับลม หรือปลูกทางด้านทิศตะวันออกให้กุหลาบได้รับแสงในตอนเช้า ดินมีการระบายน้ำดี
#วิธีเตรียมดินปลูกกุหลาบ......
การปลูก..... กระถาง 10 นิ้วขึ้นไป ถ้าปลูกลงดิน จะงอกงามดีกว่ากระถาง ควรเว้นระยะห่าง 60-80 ซม.
#ส่วนผสมของดินปลูก.....- ดิน 1 ส่วน
- อินทรีย์วัตถุ (ปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ หรือ แกลบ) 2 ส่วน
- ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
- ขุยมะพร้าว (ใช้หรือไม่ก็ได้) 1/2 ส่วน
ที่ตั้งแปลง หรือ ที่วางกระถาง..... เป็นที่มีแดดอย่างน้อย 1/2 วัน ปกติกุหลาบต้องการแดดเต็มวัน แต่เนื่องจากกุหลาบไม่ชอบอากาศร้อน ดังนั้นในช่วงฤดูร้อนควรให้กุหลาบถูกแดดนานแค่ 1/2 วันก็พอ อาจจะย้ายที่วางใหม่ หรือ พรางแสงด้วยซาแลน
การให้น้ำ..... ปกติ 1 ครั้งต่อวัน หรือ ประมาณ 1 ลิตรต่อกระถาง 10 นิ้ว แต่ฤดูร้อน อากาศแห้งมาก อาจต้องเพิ่มเป็น 2 ครั้งต่อวัน
#การให้ปุ๋ย.....
- ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรอ 16-16-16 หรือ 14-9-20 หรือ 15-5-20 หรือ 21-9-24
- ปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) ขี้ไก่ (แบบอัดเม็ด จะดีกว่าจากฟาร์ม เพราะเวลารดน้ำจะกลิ่นเหม็นมาก) ขี้วัว (ต้องใช้ปริมาณมากกว่าขี้วัว แต่ข้อเสีย เรื่องวัชพืชที่ตามมา)
- ปุ๋ยคอก มีแร่ธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมี จึงควรใช้ปุ๋ยคอกและเคมีสลับกัน โดยใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 3-4 เดือนครั้ง เพื่อแก้ปัญหาดินแข็ง เหนียวจากปุ๋ยเคมี และทุกๆ 6 เดือน
- ปูนโดโลไมท์ (มีแคลเซียมและแมกนีเซียม) ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อกระถาง 10-12 นิ้ว เพื่อแก้ความเป็นกรดจากปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วควรรดนำทันที เพื่อไม่ให้เข้มข้นตรงจุดใดจุดหนึ่งมากไป ทำให้รากเสียหาย ปุ๋ยเคมีควรใส่น้อยๆ แต่บ่อยๆ ไม่ควรใส่มากเกินไปเพราะจะทำให้ขอบใบไหม้ และตายได้
#การตัดแต่ง.....
- ต้นใหม่ ตัดแต่งกิ่งลีบ เล็ก ที่เป็นกิ่งรุ่นแรกๆ ออกที่โคนกิ่ง เหลือไว้แต่กระโดงใหญ่ๆ
- ต้นที่โตแล้ว ตัดกิ่งผอม กิ่งเป็นโรค บิดงอ กิ่งที่ง่ามแคบ หรือกิ่งที่พุ่งเข้าในพุ่ม กิ่งแก่ที่ไม่แตกยอดดอกอีกแล้วทิ้ง
- ดอกโรย ควรรีบตัดออกเพื่อไม่ให้เสียอาหารต่อไป ถ้าเป็นกุหลาบก้านยาวควรตัดเอาความยาวออกครึ่งนึ่งของความยาวก้าน หรือต่ำลงมาจนถึง 5 ใบชุด ไว้ซัก 2-3 ชุด
- การตัดแต่งประจำปี ควรทำปีละ 2 ครั้ง ในเดือนตุลาคม (ก่อนหนาว) และเดือนเมษายน (ก่อนฝน) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้ตั้งพุ่มใหม่ เพื่อลดความสูง โดยตัดกิ่งกระโดงให้สั่นลงเหลือประมาณ 30-40 ซม. ถ้าต้นแข็งแรง แต่ถ้ามีกิ่งกระโดงมาก ก็ให้ตัดกิ่งแก่ออกเสียบ้าง
การเปลี่ยนกระถาง..... ทำปีละ 1 ครั้ง อาจทำพร้อมการตัดแต่งช่วงเดือนเมษายน โดยควักดินรอบๆขอบกระถางออกส่วนหนึ่ง หรือ ถอดออกทั้งต้นแล้วเปลี่ยนดินใหม่
#โรค และ แมลง.....
- เพลี้ยไฟ เป็นแมลงตัวเล็กแหลมเหมือนเข็ม ซ่อนอยู่ใต้กลีบดอก ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอ ดอกด่าง
- ไรแดง เป็นแมลงมุมตัวเล็ก สีเหลืองส้ม อยู่ใต้ใบ ดุดกินน้ำเลี้ยงจนใบซีด ขุ่นมัว
- ใบจุดสีดำ ที่มีขอบพร่า ทำให้ใบเหลืองหลุดร่วง จะเริ่มมีอาการจากใบแก่ที่โคนต้นขึ้นมา
- ราน้ำค้าง เป็นปื้นๆ จุดสีน้ำตาลม่วงเป็นที่ยอดอ่อน ทำให้ใบร่วงตั้งแต่ยังเขียว
- ราแป้ง เหมือนผงสีขาวเหมือนแป้งจับ ใบหงิกพองเหมือนข้าวเกรียบว่าว
ราสีเทา (บอไทรทิส) กลีบนอกจะเหี่ยว และ เป็นรา ดอกไม่ยอมบาน
- แคงเกอร์ ทำให้กิ่งเนแผลวงกลมสีน้ำตาลของเหลือง ส่วนมากเป็นที่โคนกิ่ง กิ่งแก่ ในที่สุดจะลามเหลืองทั้งกิ่ง แห้งดำ และลุกลามจนต้นตาย
#การควบคุมโรค และ แมลง..... ควรพ่นยาอย่างน้อย 10 วันครั้ง
- หนอน และ แมลงปีกแข็ง ใช้ เมโธมิล หรือ ไซเปอร์เมทริน ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องควรจับทิ้งด้วยมือ
- เพลี้ยไฟ ใช้ อิมิดาคลอร์ปิด ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องตัดดอก ทำลายทิ้ง
- ไรแดง ใช้ อะบาแมกติน หรือ ทอร์ค ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องฉีดลางด้วยน้ำใต้ใบ
- โรคใบจุดดำ (ฤดูฝน) ใช้แมนโคแซบ หรือ ดาโคนิล หรือ ไตรโฟไรน์ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องคลุมด้วยหลังคาพลาสติก
- ราน้ำค้าง (ฤดูหนาว) ใช้เมทาแล็กซิล + แมนโดคเซ็บ ถ้าไม่ใช้สารเคมี ไม่มีข้อแนะนำ
- ราแป้ง (กลางวันร้อน กลางคืนเย็น) ใช้ไตรโฟไรน์ หรือ แอนวิลล์ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องพ่นด้วยน้ำ
- ราสีเทา ใช้ไตรไฟไรน์ หรือ รอฟรัล ถ้าไม่ใช้สารเคมี ไม่มีข้อแนะนำ
- แคงเกอร์ ไม่มียารักษา ใช้วิธีตัดทิ้งห่างๆจากกิ่งที่เป็นมากๆ
#การฟื้นฟูกุหลาบที่ทรุดโทรม..... โดยเฉพาะต้นที่เป็นโรคใบจุดดำ ใบจะร่วงหมด ทำให้ต้นขาดอาหาร แต่ถ้ายังปล่อยให้ออกดอก จะทำให้ต้นอ่อนแอหนัก วิธีง่ายๆ ให้ตัดดอกทิ้งให้หมด เด็ดยอดอ่อนที่มีใบ 3 ใบชุดทิ้ง รวมถึงมีดอกติดมาทิ้ง หมั่นสังกตว่า ถ้ายอดใหม่ที่ออกมาหลังการเด็ดยังไม่แข็งแรง ก็ต้องเด็ดซ้ำจนว่าจะได้ยอดที่แข็งแรง และควรงดปุ๋ยจนกว่ากุหลาบจะริ่มแตกใบ
วิธีเพาะปลูกหอมหัวใหญ่ การเพาะกล้า 1. แปลงควรทุบดินให้ละเอียด ผสมแกลบดำ ,ทรายละเอียดและปุ๋ยดินหมักชีวภาพปริมาณเท่าๆ กัน 2. ใช้ไม้ขี...
วิธีเพาะปลูกหอมหัวใหญ่
1. แปลงควรทุบดินให้ละเอียด ผสมแกลบดำ ,ทรายละเอียดและปุ๋ยดินหมักชีวภาพปริมาณเท่าๆ กัน
2. ใช้ไม้ขีดห่างประมาณ 1 นิ้ว
3. หยอดเมล็ดลงไปตามแนวขีด ประมาณ 5-7 เมล็ดต่อ 1 นิ้ว กลบด้วยดินข้างเคียง
4. รดน้ำด้วยบัวรดน้ำรูเล็ก หรือบัวรดน้ำกล้วยไม้
5. เมื่อต้นกล้าสูงเท่าดินสอสามารถนำไปปลูกได้
การเตรียมแปลง
1. ทุบดินให้ละเอียด ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กก. ต่อ 1 ตร.ม. ผสมแกลบดำ 1 ถุงอาหารสัตว์
2. รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟางค่อนข้างหนา รดน้ำอีกครั้ง
3. แหวกฟางให้ถึงดิน ปลูกต้นกล้าลงไป จะตัดยอดใบหรือไม่ตัดก็ได้ แต่ควรตัดรากให้หมด ทำให้ต้นหอมงอรากเร็ว
4. รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพ อย่าง 7 วันต่อ ครั้ง
5. ควรปลูกห่างกัน 5-6 นิ้วต่อต้น
การดูแลรักษา
1. เติมปุ๋ยเดือนละครั้ง โรยระหว่างแถวประมาณ 1 กก.ต่อ ตร.ม.
2. ฉีดพ่นน้ำหมักสะเดาผสมน้ำหมักชีวภาพ สัปดาห์ละครั้ง
3. งดให้น้ำระยะหัวหอมโตเต็มที่ ช่วง อายุ 50 วัน 60 วันก็เก็บได้แล้ว
4. การเก็บรักษา ควรนำมามัดจุแขวนไว้ที่โปร่ง ลมผัดผ่านได้ ไม่ควรกองกับพื้น หัวหอมจะเน่าเสีย
วิธีการปลูกแตงโม ต้องเตรียมพื้นที่ พื้นที่สำหรับปลูกแตงโมพื้นที่ที่ไม่ชื้นแฉะ เพราะแตงโมไม่ชอบพื้นที่น้ำแฉะแต่ก็ขาดน้ำไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเ...
วิธีการปลูกแตงโม
- เตรียมแปลงปลูกไถพรวนกว้าง 7 เมตร ไม่จำกัดความยาว จากนั้นคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกสำหรับคลุมแปลงโดยเฉพาะ เป็นผ้าสังเคราะห์แสง ลักษณะด้านหนึ่งสีขาว อีกด้านหนึ่งสีดำ เป็นตัวควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในดิน และผ้าพลาสติกยังช่วยป้องกันวัชพืชอีกด้วย โดยคลุมแปลงฟากเดียวเพียงครึ่งแปลงตามแนวยาว
- หลังจากคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกแล้ว ให้เจาะหลุมบนผ้าพลาสติกให้ขาดเป็นวงกลมรัศมีความกว้าง 5 เซนติเมตร ในระยะห่าง ประมาณ 50 เซนติเมตร ให้เหมาะพอดีสำหรับการปลูกต้นกล้าแตงโม
- รดน้ำวันละ 1 ครั้งในต้อนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 วัน ให้ใส่ปุ๋ย
- เมื่อเวลาผ่านไป 5 วันต้นแตงโมที่ปลูกจะออกใบใหม่มาอีก รวมเป็น 7 -8 ใบ ให้เกษตรกรตัดทิ้งให้เหลือใบที่สมบูรณ์ที่สุดเพียง 4 ใน
- เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ต้นแตงโมจะเริ่มแตกเถา ให้เกษตรกรสังเกตดูความสวยและความสมบูรณ์ของเถาแตงโม ถ้าเถาไหนไม่สมบูรณ์หรือแตกเถามากเกินไป ให้ตัดทิ้งให้เหลือไม่เกิน 4 เถา เพราะถ้าไม่ตัดเถาทิ้งจะทำให้แตงโมติดลูกในระยะเวลาที่ต่างกัน ผลแตงโมจะโตไม่พร้อมกันและขาดคุณภาพ
- ในช่วงที่ต้นแตงโมเลื้อยเถา ( 6 วัน) ให้เกษตรกรหว่านปุ๋ย ในแปลงอีกฟากหนึ่งที่ยังไม่ได้คลุมผ้าพลาสติกจากนั้นไถกลบ เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆซึมไปหาลำต้นแตงโมที่ปลูกในระยะตรงข้ามกัน
- จากนั้นอีก 7 วันหรือ 1 สัปดาห์ต้องให้ฮอร์โมนบำรุงต้นทางใบกับต้นแตงโม
- หมั่นสังเกตปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงที่มารบกวน ไม่ว่าจะเป็นโรคราน้ำค้าง โรคใบจุดหรือไฟลามทุ่ง โดยเฉพาะโรคไฟลามทุ่งจะรุนแรงมากที่สุดเพียงแค่ 3 วันจะทำให้แตงโมเหี่ยวแห้งทั้งสวน เกษตรกรต้องใช้สารจำพวก แอนแทรคโน๊ต และใช้เคมีเข้าช่วยในการกำจัดปัญหา
- เมื่อปลูกครบ 1 เดือน ต้นแตงโมจะเริ่มเลื้อยเถา ลักษณะเถาแตงโมจะไม่มีเถาเดียวเรียวยาวออกไปแต่จะแตกกิ่งออกไปเป็นแขนง เมื่อมีกิ่งแขนงที่แตกออกไปมากๆเกษตรกรจะต้องกำจัดทิ้ง โดยการนับช่วงระหว่างใบจำนวน 5 ช่วงตั้งแต่ลำต้น เมื่อนับไปถึงช่วงข้อที่ 5 ให้เด็ดกิ่งแขนงออกให้เหลือแต่เถาหลักคงเอาไว้
- หลังจากนั้นเมื่อต้นแตงโมอายุครบ 35-40 วัน มันจะเริ่มออกดอกและติดผลเป็นลูกเล็กๆตามเถาที่เลื้อยบนดินในแปลง เกษตรกรต้องมั่นดูแลเรื่องโรคและแมลง นอกนั้นต้องสังเกตดูความสมบูรณ์ของผลแตงโมโดยสังเกตดูก้านผล ถ้าก้านผลเล็กและลูกไม่สมบูรณ์ต้องเด็ดทิ้ง การเด็ดผลด้อยแตงโมจะต้องนับจากช่วงใบตั้งแต่ลำต้นไป ถ้าติดผลในช่วงข้อที่ 6 ให้เด็ดทิ้ง แล้วนับไปอีก 4 ช่วงข้อถ้ามีผลติดอีกก็ให้เด็ดทิ้งเหมือนกัน จากนั้นนับไปอีก 4 ช่วงข้อสังเกตดูผลที่มันติดอยู่ถ้าผลสมบูรณ์ให้ปล่อยไว้ให้โตและถ้าไม่สมบูรณ์ให้เด็ดทิ้งทันที จากนั้นนับไปอีก 3 ช่วงข้อ ถ้ามีผลแตงโมติดอยู่ให้คงผลนั้นไว้เลี้ยงให้โตจะเป็นลูกแตงโมที่โตและสมบูรณ์ โดย แตงโม 1 ต้นจะต้องมีผล 1-2 ลูกเท่านั้น
- เมื่อคัดเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว เกษตรกรต้องหมั่นดูแลเกี่ยวกับปัญหาโรคและแมลง ดูแลจนผลแตงโมมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ให้ใช้ปล้องไม้ไผ่ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ผ่าครึ่งนำมารองผลแตงโมไว้ เพื่อป้องกันแมลงในดินมาเจาะผลแตงโมและเป็นการรักษาผิวแตงโมให้สวย
ขอขอบคุณที่มา : 108technofarm.com
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปลูกต้นอ่อนทานตะวันงอก - เมล็ดทานตะวันสีดำ ( black oil sunflower seeds ) โดยสามารถหาซื้อไ...
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
ปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปลูกต้นอ่อนทานตะวันงอก
- เมล็ดทานตะวันสีดำ ( black oil sunflower seeds ) โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป
- ถาดหรือกระบะทึบแสง 2 อัน
- ดินสำหรับปลูก (ดินสวน ดินถุงสำหรับปลูกต้นไม้ธรรมดา )
- สเปรย์ฉีดน้ำเปล่า
วิธีเพาะต้นอ่อนทานตะวัน หรือ วิธีปลูกต้นอ่อนทานตะวัน
วิธีการทำ
1 แช่เมล็ดทานตะวันในน้ำไว้หนึ่งคืน
2 เตรียมถาด 2 ใบ ไม่ต้องเจาะรูระบายน้ำหรือถ้ามีรูก็ไม่เป็นไร
3.ใส่ดินลงไปสูงครึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้ว ( ใส่ดินนิดเดียวพอ ครึ่งนิ้ว-หนี่งนิ้ว พอให้รากมีที่ยึดเกาะ )
4.ใช้สเปรย์ฉีดน้ำให้ทั่วดินพอชุ่มๆห้ามแฉะมาก
5.โรยเมล็ดทานตะวันที่แช่น้ำแล้วกระจายให้ทั่วในกระบะ ใช้สเปรย์ฉีดน้ำอีกครั้งให้ทั่ว แล้วใช้กระบะอีกใบคว่ำปิดทับด้านบน
6.เปิดรดน้ำด้วยสเปรย์วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังรดน้ำแล้วปิดกระบะไว้เช่นเดิม สักสามสี่วันจะสูงประมาณ 1 นิ้ว
7.เริ่มผลิใบ 1 คู่ ให้ทำการหงายกระบะวางทับไว้ด้านบน เพื่อเป็นการบังคับให้ต้นทานตะวันงอกในระดับเดียวกัน
และใช้สเปรย์รดน้ำเช้า-เย็น แล้วก็วางกระบะทับไว้ด้านบนเช่นเดิม 2-3 วัน
8.ตอนนี้ลำต้นจะสูงประมาณ 2- 3 นิ้ว เอากระบะที่วางทับไว้ออกได้ จะเห็นใบมีสีเหลืองเนื่องจากไม่โดนแสง
ให้เอาถาดวางไว้ในที่ร่มห้ามโดนแสงแดด ไม่กี่ชั่วโมงใบทานตะวันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว, สเปรย์รดน้ำเช้า-เย็น
9.วันที่ 7-11 สามารถเก็บเกี่ยวมากินได้ตามความชอบ (ถ้าปล่อยไว้นานจะเริ่มมีใบเลี้ยงคู่ที่สองออกมา รสชาติจะไม่ค่อยอร่อย)
10. เวลาตัดรากก็ใช้กรรไกรตัดโลด รวบมาเป็นกำๆ แล้วก็ตัดงับๆๆๆ ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งสะเด็ดน้ำ
เมื่อต้นอ่อนทานตะวันแห้งแล้วแบ่งเก็บใส่ถุงเข้าตู้เย็นไว้กินหรือ แจกเพื่อนบ้าน แจกญาติๆ
หรือไม่ก็สามารถนำไปขายสร้างรายได้ ให้มีผักกินสุขภาพดีถ้วนหน้าในราคาประหยัด
ขอขอบคุณที่มา : .farmthailand.com/1197
การเพาะเห็ดเผาะ เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบเป็นเห็ดที่เกิดในต้นฤดูฝนไม่มีรากเป็นก้อนกลมๆมีสปอร์อยู่ข้างในมีเปลือกแข็งหุ้มสปอร์ไว้นิยมนำมา...
การเพาะเห็ดเผาะ
การเพาะเห็ดเผาะ
เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบเป็นเห็ดที่เกิดในต้นฤดูฝนไม่มีรากเป็นก้อนกลมๆมีสปอร์อยู่ข้างในมีเปลือกแข็งหุ้มสปอร์ไว้นิยมนำมาทำอาหารในช่วงที่อ่อนๆ ปัจจุบันการเพาะเชื้อยังทำไม่ได้แต่มีวิธีการปลูกแบบอาศัยธรรมชาติ ทำได้ปีละครั้ง
อุปกรณ์ในการปลูกเห็ดเผาะ
1.เห็ดเผาะที่แก่จนแห้งแตก
2.ต้นกล้าไม้ที่นิยมคือ ยางนา มะค่า เต็งรัง
3.ถังเล็กๆ
วิธีการปลูกเห็ดเผาะ
1.นำเห็ดเผาะที่แก่จัดมาแกะเอาสปอร์ข้างใน
2.นำสปอร์ไปผสมกับน้ำให้เข้ากันในอัตราส่วนที่เหมาะสม
3.นำไปรดต้นกล้าทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง
4.สังเกตุดูต้นกล้าถ้าเริ่มมีเนื้อเยื่อเห็ดเผาะเจริญเติบโตแล้วให้นำไปปลูกได้
5.ปีถัดไปก็จะมีเห็ดเผาะเกิดตามรากไม้ต้นนั้นอย่าพึ่งเก็บเพราะต้นไม้ยังไม่แข็งแรงพอ
6.เมื่อต้นไม้โตพอประมาณให้เริ่มทำการเก็บเห็ดเผาะได้ เห็ดเผาะจะเกิดมาให้เราเก็บที่ต้นไม้ต้นนี้ทุกปี
วิธีปลูกพลู สร้างรายได้ ชนิดของพลู 1. พลูเขียว หรือบางท้องที่จะนิยมเรียกว่าพลูใบใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ป้อมๆ แต่ใบบาง ลักษณะใบ เหมือนใบโ...
วิธีปลูกพลู สร้างรายได้
ชนิดของพลู
1. พลูเขียว หรือบางท้องที่จะนิยมเรียกว่าพลูใบใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ป้อมๆ แต่ใบบาง ลักษณะใบ
เหมือนใบโพธิ์ มีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่น มีรสเผ็ดมาก พลูชนิดนี้นิยมทำเป็นพลูนาบ และนิยมนำไปใช้ใน
การประกอบพิธี
2. พลูขาวหรือพลูนวล ใบมีขนาดปานกลางเล็กกว่าพลูเขียว แต่ใบหนากว่าพลูเขียว ปลายใบเรียว
ลักษณะใบเหมือนใบพริกไทย มีสีเขียวออกนวล รสไม่เผ็ดมากนักเป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภค
3. พลูเหลืองหรือพลูทอง ใบมีขนาดเล็กกว่าพลูนวลเล็กน้อย ใบบางเหมือนพลูเขียว ปลายใบจะ
เรียวเหมือนพลูนวล ใบมีสีเหลืองออกสีทอง รสไม่เผ็ดมากนัก เป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภคมาก
การดูแลรักษายากกว่าพันธุ์อื่น
พลูขยายพันธุ์ด้วยการใช้เถา / การตอน / การปักชำยอด / การใช้ใบ /การทับกิ่ง
การปลูก
1. การเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยรากเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง
2. การเตรียมดิน การเตรียมดินทำได้โดยไถดินตากไว้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็ยกร่องให้สูงเพื่อช่วยใน
การระบายน้ำ ตากดินทิ้งไว้ระยะหนึ่งประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปน
ทรายควรใส่ปุ๋ยคอก เพื่อให้ดินร่วนและทำให้การอุดมสมบูรณ์มีเพิ่มมากขึ้น หากดินเหนียวหรือดินแน่น
จะต้องพรวนดิน ย่อยดินให้ร่วนเสียก่อนและต้องระวังอย่าให้มีน้ำขังในแปลงปลูก แล้วทำการขุดหลุมปลูก
หลุมปลูกมีขนาดประมาณ 50 x 50 ซม. และลึกประมาณ 60 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5-2.0
เมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1.50 เมตร
3. วิธีปลูก ก่อนที่จะปลูกพลูควรนำหญ้าแห้ง ใส่ลงในหลุมและจุดไฟเผา เพื่อฆ่าเชื้อโรคและ
ศัตรูพืชอื่นๆ ที่อาจจะอยู่ในหลุม จากนั้นก็ทำการลงไม้ค้างในดิน ส่วนดินที่จะใส่ลงหลุมควรเป็นดินผสมปุ๋ย
พลูจะชอบอากาศร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ชอบแสงแดดจัดหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้นพลูอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ดังนั้นจึงต้องพรางแสงแดดลดความร้อนด้วยการให้ร่มเงาหรือปลูกพืชอื่นให้ร่มเงามากขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่ให้ร่มเงายังมีประโยชน์ในการป้องกันลมอันอาจจะทำความเสียหายต่อก้านและใบพลู
พลูชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 7-7.5 และการระบายน้ำดี ถ้าเป็นดินเหนียวจะต้องทำการระบายน้ำ
พลูไม่ชอบที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ง่าย
พลูจะชอบความชื้นสูงเป็นบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่มีฝนตกชุกสม่ำเสมอ
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล : .kasetporpeang.com
ขอขอบคุรเครดิตภาพ