# วิธีปลูกกระเจี๊ยบเขียว  #ระยะปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและ แบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซ...

วิธีปลูกกระเจี๊ยบเขียว

#วิธีปลูกกระเจี๊ยบเขียว 
#ระยะปลูกและเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ การปลูกอาจทำได้ทั้งแบบร่องสวนและ แบบไร่ โดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุมอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ = 1 กิโลกรัมเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว 100 เมล็ดหนัก 6-7 กรัมเมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม = 16,666-14,285 เมล็ด

#การเตรียมแปลงปลูกและการปลูก กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีใน สภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เนื่องจากระยะเวลาเก็บเกี่ยว ผลผลิตนานถึง 6 เดือน ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมก่อนปลูกควรคลุกเมล็ด เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น โรคฝักจุดหรือฝักลายโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ


การเตรียมแปลงปลูกและการปลูกแบบไร่คือปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งเคยปลูก อ้อยหรือปลูกข้าวโพดอ่อนไม่มีร่องน้ำ ดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี
การเตรียมแปลงใช้แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ 1-2 ครั้ง แล้วยกร่องไถดิน ตากดิน 3-5 วัน

ไถครั้งที่ 2 พรวนดิน แล้วยกร่องด้วยแทรกเตอร์ ยกร่องกว้าง 75 เซนติเมตร (ให้น้ำแบบร่อง) ใช้จอบปรับร่องให้เสมอเพื่อน้ำจะได้เข้าแปลงได้ดี ใช้จอบตีหลุมซึ่งหลุมปลูกจะอยู่ต่ำกว่าขอบแปลงประมาณ 1 คืบ ปลูกแถวคู่ ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ เตรียมหลุมปลูก 8,480 หลุม


#การให้น้ำ
กระเจี๊ยบเขียวชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ

#การให้ปุ๋ย
เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย

#อายุการเก็บเกี่ยว
กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่โตเร็ว เมื่ออายุได้ 40 วัน จะเริ่มออกดอก หลังดอกบาน 5 วัน ฝักจะยาว 4-9 เซนติเมตร ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตฝักสดได้ มีขนาดและคุณภาพฝักดี คือ ฝักกระเจี๊ยบมีความอ่อนนุ่มมีรสชาด และเนื้อสัมผัสที่ผู้บริโภคพอใจ อ่อน ไม่มีเส้นใยตรงตามที่ตลาดต้องการ ฝักกระเจี๊ยบเขียวโตเร็วมากโดยเฉพาะอากาศร้อนจะเติบโตวันละ 2-3 เซนติเมตร เกษตรกรจึงต้องเก็บเกี่ยวทุกวัน และไม่ควรปล่อยทิ้งฝักที่สามารถตัดได้ให้หลงเหลืออยู่บนต้น เพราะต้นจะต้องส่งอาหารมาเลี้ยง ทำให้ผลผลิตต่ำ เกษตรกรจะสามารถเก็บฝักที่มีคุณภาพดีได้ประมาณ 1 ฝ -2 เดือน ฝักที่แตกยอดจะเริ่มหมดและไม่แข็งแรง สังเกตจะมีกิ่งแขนงออกจากต้น 2-3 กิ่ง ควรตัดต้นทิ้ง เพื่อให้แตกแขนงใหม่ซึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้อีกประมาณ 2 เดือน ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยตลอดฤดูปลูก 30 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน หรือประมาณ 3,000-5,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก (ก.ย.-พ.ค.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและความยาวนานในการเก็บผลผลิต

วิธีการปลูกพริก พันธุ์ของพริกที่นิยมปลูก ได้แก่ พริกบางช้าง, พริกสันป่าตอง, พริกชี้ฟ้า, พริกขี้หนูเม็ดใหญ่  ตลาดขายพริกสดยังมีลู่ทางในตลา...

วิธีการปลูกพริก

วิธีการปลูกพริก
พันธุ์ของพริกที่นิยมปลูก ได้แก่ พริกบางช้าง, พริกสันป่าตอง, พริกชี้ฟ้า, พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ 

ตลาดขายพริกสดยังมีลู่ทางในตลาดที่สดใส ได้ราคาดี อีกทั้งยังสามารถขายได้ตลอดปี ราคาพริกจะอยู่ในช่วงกิโลกรัมละ 20-50 บาท ในบางช่วงพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 90 บาท และยังมีแม่ค้ามารับซื้อถึงที่ ซึ่งในแต่ละวันเกษตรกร จะสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 40-50 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้ประมาณ 2,500 บาทต่อวัน นับว่าเป็นอาชีพที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และแก้ไขปัญหาการว่างงานได้เป็นอย่างดี



#การเพาะกล้าต้นกล้าพริก
1. ใช้แปลงเพาะกว้าง 1 เมตร ยาว 5-10 เมตร

2. ขุดพลิกดินตากดินไว้ 2-3 สัปดาห์ ใช้ปุ่ยชีวภาพหรือสารย่อยดิน และแกลบเผาอย่างละ 10-20 กิโลกรัมต่อแปลง คลุกเคล้าให้เข้ากันจนร่วนซุย

3. เกลี่ยดินให้เรียบแล้วเพาะเมล็ดในอัตรา  50 กรัม ต่อพื้นที่ปลูกพริก 1 ไร่ โดยโรยเมล็ดเป็นแถวตามความกว้างของแปลงลึก 0.5 เซนติเมตร แต่ละแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร

4. กลบดินบาง ๆ เสมอพื้นดินผิวดินเดิมแล้วใช้ฟางข้าวคลุมแปลงบาง ๆ รดน้ำ หรือทำวัสดุให้ร่มเงา เช่น สะแลน บังแสงแดดในระยะแรก จะทำให้เปอร์เซนต์การงอกดีขึ้น

5. เมื่อกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้ว ค่อย ๆ ดึงฟางออกให้บางลง เพื่อกล้าจะเจริญเติบโตดี

6. การโรยเมล็ดถ้าเป็นการปลูกโดยการย้ายกล้าจากแปลงเพาะไปปลูกในแปลงโดยตรงโดยไม่ย้ายกล้าลงถุง พลาสติก ควรโรยเมล็ดให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้น แต่ละเมล็ดควรห่างกัน 0.05 เซนติเมตร


#การปลูกพริก อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม 
1. หยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม

2. เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก

3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลงเพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้ามีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 200 ซีซี. แล้วรดน้ำตามทันที

การเพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัดเชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะ  เพื่อป้องกันโรคเน่า เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน

ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม. ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูกก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง

การเตรียมดิน ทำการย้ายปลูก เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว เตรียมดินแปลงปลูก โดยไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึง

เตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูก สามารถทำได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพของพื้นที่ปลูกดังนี้คือ
1. ปลูกแบบไม่ยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ ๆ มีการระบายน้ำดี ปรับระดับได้สม่ำเสมอ การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.

2. ปลูกแบบยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ระบายน้ำดอกได้ยาก

-ขนาดแปลงกว้าง 1.50 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. ปลูก 2 แถว บนแปลง
-ระยะห่างแถว 0.75-1.00 เมตร ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.

โหระพาเป็นพืชล้มลุกอายุสั้น  ลำต้นเป็นทรงพุ่มสูงประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร ใบเขียว  ก้านใบและลำตัวมีสีม่วง ใบมีกลิ่นหอม  ใบโหระพาเป็นผักที่ใช...

วิธีปลูกโหระพา

โหระพาเป็นพืชล้มลุกอายุสั้น  ลำต้นเป็นทรงพุ่มสูงประมาณ60 - 70 เซนติเมตร ใบเขียว 
ก้านใบและลำตัวมีสีม่วง ใบมีกลิ่นหอม ใบโหระพาเป็นผักที่ใช้ใบบริโภค 
 ใช้ปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาด และกลิ่นหอมน่ารับประทาน


การเพาะเมล็ดสำหรับทำกล้า
1.ทำแปลงเพาะขนาดความกว้าง 1 เมตร
ความยาวแล้วแต่แปลง
2.ย่อยดินให้ละเอียด  คลุกเคล้าปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก
3.หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง
4.หลังเพาะประมาณ 7 - 10  วัน  เมล็ดเริ่มงอก
5..ดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 25 - 30  วัน
ก็ย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงได้

การเตรียมดินปลูกและการย้ายกล้าปลูก
6.ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 15 - 20 ซม.  หรือ 1 หน้าจอบ
7.ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงแปลงกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดแปลง
8.ขุดหลุมปลูกขนาดลึก 1/2  หน้าจอบ
9.ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม.  ระหว่างแถว 60 ซม.
10.นำต้นกล้าลงปลูกในหลุมแล้วรดน้ำตาม

การดูแลรักษา
11.การใส่ปุ๋ย  เมื่อต้นโหระพาอายุ  10 - 15 วัน
12.ใช้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนี่ยมซัลเฟต 1 - 2 ช้อนชา
ต่อน้ำ 10 ลิตร  รดทุก 5 - 7 วัน
13.เมื่อต้นโหระพาอายุ 25 - 30 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15
อัตรา 1ช้อนชา  ต่อต้น  ให้ทุก 20 - 25 วัน
โดยโรยห่างโคนต้น  3 - 5 ซม.
หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ
โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงได้
14.การให้น้ำ  ให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทุกวัน
15.การกำจัดวัชพืช  ควรกำจัดวัชพืชทุกครั้งที่มีการให้ปุ๋ย
และเมื่อมีวัชพืชรบกวน

การเก็บเกี่ยว
16.หลังปลูกประมาณ 30 - 35 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
โดยใช้มือเด็ดหรือกรรไกร  ตัดกิ่งที่มียอดอ่อนไปบริโภค
17.ถ้าต้นโหระพาออกดอกควรหมั่นตัดแต่งออกทิ้ง
เพื่อให้โหระพามีทรงพุ่มที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว


กุหลาบ ควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน เนื่องจากกุหลาบจะมีช่วงการเจริญ...

การปลูกและดูแลรักษาดอกกุหลาบ


กุหลาบควรปลูกในฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงของการเจริญเติบโตของกุหลาบ ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนมิถุนายน
เนื่องจากกุหลาบจะมีช่วงการเจริญเติบโตติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 6 เดือน ซึ่งจะทำให้ได้ต้นกุหลาบที่เติบโตเต็มที่ ดอกมีคุณภาพ




กุหลาบเป็นไม้ดอกที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชม.

ดังนั้นควรปลูกในที่โล่งแจ้งและอับลม หรือปลูกทางด้านทิศตะวันออกให้กุหลาบได้รับแสงในตอนเช้า ดินมีการระบายน้ำดี

#วิธีเตรียมดินปลูกกุหลาบ......

การปลูก..... กระถาง 10 นิ้วขึ้นไป ถ้าปลูกลงดิน จะงอกงามดีกว่ากระถาง ควรเว้นระยะห่าง 60-80 ซม.

#ส่วนผสมของดินปลูก.....- ดิน 1 ส่วน
- อินทรีย์วัตถุ (ปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ หรือ แกลบ) 2 ส่วน
- ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
- ขุยมะพร้าว (ใช้หรือไม่ก็ได้) 1/2 ส่วน

ที่ตั้งแปลง หรือ ที่วางกระถาง..... เป็นที่มีแดดอย่างน้อย 1/2 วัน ปกติกุหลาบต้องการแดดเต็มวัน แต่เนื่องจากกุหลาบไม่ชอบอากาศร้อน ดังนั้นในช่วงฤดูร้อนควรให้กุหลาบถูกแดดนานแค่ 1/2 วันก็พอ อาจจะย้ายที่วางใหม่ หรือ พรางแสงด้วยซาแลน

การให้น้ำ..... ปกติ 1 ครั้งต่อวัน หรือ ประมาณ 1 ลิตรต่อกระถาง 10 นิ้ว แต่ฤดูร้อน อากาศแห้งมาก อาจต้องเพิ่มเป็น 2 ครั้งต่อวัน

#การให้ปุ๋ย.....
- ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรอ 16-16-16 หรือ 14-9-20 หรือ 15-5-20 หรือ 21-9-24
- ปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) ขี้ไก่ (แบบอัดเม็ด จะดีกว่าจากฟาร์ม เพราะเวลารดน้ำจะกลิ่นเหม็นมาก) ขี้วัว (ต้องใช้ปริมาณมากกว่าขี้วัว แต่ข้อเสีย เรื่องวัชพืชที่ตามมา)
- ปุ๋ยคอก มีแร่ธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมี จึงควรใช้ปุ๋ยคอกและเคมีสลับกัน โดยใช้ปุ๋ยคอกประมาณ 3-4 เดือนครั้ง เพื่อแก้ปัญหาดินแข็ง เหนียวจากปุ๋ยเคมี และทุกๆ 6 เดือน
- ปูนโดโลไมท์ (มีแคลเซียมและแมกนีเซียม) ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อกระถาง 10-12 นิ้ว เพื่อแก้ความเป็นกรดจากปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วควรรดนำทันที เพื่อไม่ให้เข้มข้นตรงจุดใดจุดหนึ่งมากไป ทำให้รากเสียหาย ปุ๋ยเคมีควรใส่น้อยๆ แต่บ่อยๆ ไม่ควรใส่มากเกินไปเพราะจะทำให้ขอบใบไหม้ และตายได้

#การตัดแต่ง.....
- ต้นใหม่ ตัดแต่งกิ่งลีบ เล็ก ที่เป็นกิ่งรุ่นแรกๆ ออกที่โคนกิ่ง เหลือไว้แต่กระโดงใหญ่ๆ
- ต้นที่โตแล้ว ตัดกิ่งผอม กิ่งเป็นโรค บิดงอ กิ่งที่ง่ามแคบ หรือกิ่งที่พุ่งเข้าในพุ่ม กิ่งแก่ที่ไม่แตกยอดดอกอีกแล้วทิ้ง
- ดอกโรย ควรรีบตัดออกเพื่อไม่ให้เสียอาหารต่อไป ถ้าเป็นกุหลาบก้านยาวควรตัดเอาความยาวออกครึ่งนึ่งของความยาวก้าน หรือต่ำลงมาจนถึง 5 ใบชุด ไว้ซัก 2-3 ชุด
- การตัดแต่งประจำปี ควรทำปีละ 2 ครั้ง ในเดือนตุลาคม (ก่อนหนาว) และเดือนเมษายน (ก่อนฝน) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้ตั้งพุ่มใหม่ เพื่อลดความสูง โดยตัดกิ่งกระโดงให้สั่นลงเหลือประมาณ 30-40 ซม. ถ้าต้นแข็งแรง แต่ถ้ามีกิ่งกระโดงมาก ก็ให้ตัดกิ่งแก่ออกเสียบ้าง

การเปลี่ยนกระถาง..... ทำปีละ 1 ครั้ง อาจทำพร้อมการตัดแต่งช่วงเดือนเมษายน โดยควักดินรอบๆขอบกระถางออกส่วนหนึ่ง หรือ ถอดออกทั้งต้นแล้วเปลี่ยนดินใหม่

#โรค และ แมลง.....
- เพลี้ยไฟ เป็นแมลงตัวเล็กแหลมเหมือนเข็ม ซ่อนอยู่ใต้กลีบดอก ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอ ดอกด่าง
- ไรแดง เป็นแมลงมุมตัวเล็ก สีเหลืองส้ม อยู่ใต้ใบ ดุดกินน้ำเลี้ยงจนใบซีด ขุ่นมัว
- ใบจุดสีดำ ที่มีขอบพร่า ทำให้ใบเหลืองหลุดร่วง จะเริ่มมีอาการจากใบแก่ที่โคนต้นขึ้นมา
- ราน้ำค้าง เป็นปื้นๆ จุดสีน้ำตาลม่วงเป็นที่ยอดอ่อน ทำให้ใบร่วงตั้งแต่ยังเขียว
- ราแป้ง เหมือนผงสีขาวเหมือนแป้งจับ ใบหงิกพองเหมือนข้าวเกรียบว่าว
ราสีเทา (บอไทรทิส) กลีบนอกจะเหี่ยว และ เป็นรา ดอกไม่ยอมบาน
- แคงเกอร์ ทำให้กิ่งเนแผลวงกลมสีน้ำตาลของเหลือง ส่วนมากเป็นที่โคนกิ่ง กิ่งแก่ ในที่สุดจะลามเหลืองทั้งกิ่ง แห้งดำ และลุกลามจนต้นตาย


#การควบคุมโรค และ แมลง..... ควรพ่นยาอย่างน้อย 10 วันครั้ง
- หนอน และ แมลงปีกแข็ง ใช้ เมโธมิล หรือ ไซเปอร์เมทริน ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องควรจับทิ้งด้วยมือ
- เพลี้ยไฟ ใช้ อิมิดาคลอร์ปิด ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องตัดดอก ทำลายทิ้ง
- ไรแดง ใช้ อะบาแมกติน หรือ ทอร์ค ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องฉีดลางด้วยน้ำใต้ใบ
- โรคใบจุดดำ (ฤดูฝน) ใช้แมนโคแซบ หรือ ดาโคนิล หรือ ไตรโฟไรน์ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องคลุมด้วยหลังคาพลาสติก
- ราน้ำค้าง (ฤดูหนาว) ใช้เมทาแล็กซิล + แมนโดคเซ็บ ถ้าไม่ใช้สารเคมี ไม่มีข้อแนะนำ
- ราแป้ง (กลางวันร้อน กลางคืนเย็น) ใช้ไตรโฟไรน์ หรือ แอนวิลล์ ถ้าไม่ใช้สารเคมีก็ต้องพ่นด้วยน้ำ
- ราสีเทา ใช้ไตรไฟไรน์ หรือ รอฟรัล ถ้าไม่ใช้สารเคมี ไม่มีข้อแนะนำ
- แคงเกอร์ ไม่มียารักษา ใช้วิธีตัดทิ้งห่างๆจากกิ่งที่เป็นมากๆ

#การฟื้นฟูกุหลาบที่ทรุดโทรม..... โดยเฉพาะต้นที่เป็นโรคใบจุดดำ ใบจะร่วงหมด ทำให้ต้นขาดอาหาร แต่ถ้ายังปล่อยให้ออกดอก จะทำให้ต้นอ่อนแอหนัก วิธีง่ายๆ ให้ตัดดอกทิ้งให้หมด เด็ดยอดอ่อนที่มีใบ 3 ใบชุดทิ้ง รวมถึงมีดอกติดมาทิ้ง หมั่นสังกตว่า ถ้ายอดใหม่ที่ออกมาหลังการเด็ดยังไม่แข็งแรง ก็ต้องเด็ดซ้ำจนว่าจะได้ยอดที่แข็งแรง และควรงดปุ๋ยจนกว่ากุหลาบจะริ่มแตกใบ


Pages (2)12 »